วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

CD-ROM, DVD-ROM, Blu-ray คืออะไร

ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในการปรับปรุงและพัฒนา ทำให้ Optical Storage ที่จากเดิมเป็นเพียงแค่ซีดีรอมที่สามารถเก็บข้อมูลได ้ 700 เมกะไบตฺ์ และอ่านได้เพียงอย่างเดียว สามารถพัฒนามาถึงขั้นเขียนข้อมูลลงบนแผ่นได้ และวิวัฒนาการล่าสุดทำให้มีความสามารถที่จะเก็บข้อมู ลได้ถึง 54 กิกะไบต์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในวงการภาพยนตร์และสื่อ ในการให้ความบันเทิงต่าง ๆ

Optical Storage เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงที่ใช้แสงเลเซอร์ ในการอ่านข้อมูล โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงโดยอาศัยกระบวนการทางเทคโนโ ลยีในการใช้แสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นสั้น ความถี่สูง ตามหลักฟิสิกส์ของนิวตันว่าด้วยแสงขาวสามารถ แบ่งออกเป็น สเปกตรัมที่ตาเรามองเห็นเป็น 7 สีโดยเริ่มจากม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง นั่นเอง



ผิวบันทึกข้อมูลจะประกอบด้วยหลุม (Pit) ขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก การที่มีจำนวนหลุมข้อมูลน้อยมากนี้เอง ทำให้สร้างความแตกต่างในการจุข้อมูล โดยหลักการการทำงานของ Optical Disk จะใช้ลำแสงเลเซอร์ในการเปลี่ยนผิวของจานพลาสติก หรือจากโลหะแทนข้อมูล จานแสงแทนข้อมูล 1 และ 0 ด้วยการสะท้อนของแสงจากพื้นผิวส่วนที่เรียกว่าแ ลนด์ (Lands) และพื้นผิวที่เป็นหลุมที่เรียกว่าพิท (Pits) การอ่านข้อมูลของจานแสงโดยหน่วยขับจานแสง (Optical Disk Drive) ด้วยการยิงลำแสงเลเซอร์ขนาดเล็กไปบนผิวของจานแสงและอ ่านผลจากการสะท้อนของเลเซอร์ ปริมาณของแสงสะท้อนจะเป็นตัวกำหนดค่าว่าเป็น 1 หรือ 0 จานแสงจะใช้แทร็คเดียววนแบบก้นหอยเข้าหาศูนย์กลางของ ดิสก์ แล้วแบ่งแทร็คเดียวที่มีอยู่ออกเป็นวงหรือเซกเตอร์ที ่มีขนาดเท่ากันหมด

โครงสร้างของแผ่นเก็บข้อมูล Optical Storage โดยทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรูปร่างแล ะขนาดภายนอกจะไ่ม่มีความแตกต่างกันเลยแผ่นจุข้อมูลโด ยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 4.8 นิ้ิว หรือ 12 cm และมีความหนา 1.2 mm

โครงสร้างของแผ่นจุข้อมูลประกอบด้วยดังนี้

1. ชั้นพลาสติก (Polycarbonate Plastic) เป็นส่วนเคลือบที่ทำจากสาร (Polycarbonate Plastic) ที่มีความหนาและนำ้หนักมากที่สุด จะทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายของข้อมูล ที่อยู่ในชั้นถัดไปและทำทำหน้าที่ในการโฟกัสหาข้อมูล ของแสงเลเซอร์ที่ยิงมาจากเครื่องอ่านซีดี

2. ชั้นข้อมูลเป็นชั้นที่มีสารอลูมิเนียม (Aluminum) ซึ่งฉีดลงบนแผ่นพลาสติก Polycarbonate มีลักษณะเป็นร่อง ๆ เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล ต่าง ๆ ในส่วนโครงสร้างนี้เองจะแบ่งแทร็ก Track ที่เรียงต่อกันเป็นวงกลมคล้ายก้นหอย

3. ชั้นสะท้อนแสงกลับเป็นชั้นที่ทำด้วยโลหะ เพื่อให้แสงเลเซอร์ที่ยิงเข้ามาอ่านข้อมูลและสามารถส ะท้อนกลับไปแปลงเป็นรูปแบบบข้อมูลที่เครื่องเล่ นได้ และแผ่นที่เราเห็นเป็นมันเงา็ก็เนื่องจากชั้นสะท้อนแ สงกลับของแผ่นบนชั้นนี้จะเคลือบด้วยสารอคีลิค (Acrylic) ซึ่งทำหน้าที่เป็นด้วป้องกันไม่ให้ชั้นสะท้อนแสงได้ร ับความเสียหายและจะส่งผลกระทบในการอ่านข้อมูลบนแผ่นโ ดยตรง

4. ชั้นเลเบล (Label) เคลือบบนชั้นบนสุดอีกครั้ง เพื่อใช้แสดงตราการค้า หรือรูปภาพต่าง ๆ ซึ่งยังช่วยป้องกันความเสียหายให้ชั้นสะท้อนกับอีกด้วย

Optical Stoage - CD 



CD มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 โดยมีบริษัทฟิลิปส์ (Philips) และ โซนี่ (Sony) ร่วมมือกันในการผลิตคอมแพคดิสก์สำหรับบันทึกเสียง โดยในปี 1982 ได้มีการกำหนดมาตรฐานของซีดีรวมทั้งรายละเอียดของการ บันทึกเสียง เช่นวิธีการอ่าน และขนาดของซีดี โดยกำหนดแผ่นดิกส์เป็น 5 นิ้ว ที่กำหนด 5 นิ้วเพราะว่าแผ่นขนาดนี้สามารถบรรจุซิมโฟนี่หมายเลข 9 ของบีโธเฟนได้ ในปี 1970 ทั้งสองบริษัทได้มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในการ ใช้เทคโนโลยีของซีดีกับคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาซีดีรอมที่พวกเราได้ใช้กับคอมพิวเตอร ์ในปัจจุบัน

CD จัดเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลรูปแบบหนึ่ง โดยใ้ช้เทคโนโลยีเลเซอร์สีแดงที่มีความยาวคลื่่นแสง 780 nm (nanometer) ซึ่งมักจะไว้ใช้งานทางด้าน Multimedia เช่น ภาพ และเสียง โดยส่วนใหญ่ีมีวัตถุประสงค์ในการบันทึกข้อมูลเื่พื่อ การบันเทิง และใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งตัองใช้เนื้อที่ในการเก็บมากกว่า 50 MB ดังนั้นแล้ว จึงจำเป็นที่ข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัยการจัดเก็บไว้ใน แผ่นซีดี

ในปัจจุบันเครื่่องอ่านซีดีรอมจะมีราคาถูกลงอย่างมาก จึงทำให้กลายเป็นอุปกรณ์ และสื่อที่ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ในการบันทึกข ้อมูล และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เพื่่อจำหน่ายให้กับลูกค้าเนื่องจากความจุที่มากกว่า และราคาทีถูกกว่า

โดยปกติจะจำแนกแผ่นซีดีออกเป็น 3 ชนิดคือ

CD-ROM (Compact Disc Read Only Memory - ไม่สามารถลบข้อมูลได้) มักใช้ในการบันทึกเพื่อเผยแพร่สำหรับฐานข้อมูลขนาดให ญ่และปริมาณมาก ๆ เช่น พจนานุกรม และโปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เป็นต้น

CD-R (CD –Recordable - สามารถเขียน แต่ไม่สามารถลบข้อมูลได้) มักใช้ในการบันทึกข้อมูลถาวร เช่นการบันทึกเพลง เป็นต้น

CD-RW (CD-Rewritable - สามารถอ่าน เขียนและลบข้อมูลได้) โดยมากมักใช้ในการบันทึกและแก้ไขงานนำเสนอสื่อประสมต ่าง ๆ

โดยทั่วไป จะมีขนาดบรรจุข้อมูล 2 ขนาดความจุข้อมูลคือ 650 และ 700 MB โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้นาน 70 นาที และมีการใช้บันทึกข้อมูลได้เพียงด้านเดียว (Single side media)

ลักษณะของแผ่นซีดีจะเป็นวง Track มีระยะห่างกัน 1.6 ไมครอน (Micron) โดยTrack จะถูกแบ่งเป็นท่อนเล็กๆ (Bump) เรียงกันเป็นแถว แต่ละท่อนมีความกว้าง 0.5 ไมครอน มีความยาว 0.83 ไมครอน และสูง 125 นาโนเมตร (nanometers) ซึ่งถ้านำ Bump แต่ละท่อน มาต่อเรียงกัน ก็จะได้ความยาว 3 กิโลเมตรต่อแผ่น CD 1 แผ่น

หลักการทำงานของ CD- Rom
เป็นการใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูลโดยแผ่นพลาสติ กที่เคลือบอลูมิเนียมเชื่อมสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา และสะท้อนกลับไปที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector โดยทางด้านล่างของซีดีรอมจะมีหลุมที่เรียกว่า พิท โดยแ่ต่ละหลุมจะมีขนาดเล็กมากประมาณ 1.6 ไมครอน ซึ่งถ้าัตัวกำเนิดแสงเลเซอร์ยิงแสงเลเซอร์ไปบนแผ่นแล ้ว การสะท้อนแสงเลเซอร์ของบริเวณที่มีหลุมกับไม่มีหลุมก ็จะแตกต่างกัน ดังน้นค่าที่ได้ก็จะแตกต่างกัน และแผงวงจรภายในก็จะเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณ 0 กับ 1 เพื่อส่งไปให้กับซีพียูนำไปประมวลผลต่อไป

ข้อดี คือ

1. ราคาถูก
2. มีความจุมากกว่าฟลอปปี้ดิสก์
3. ง่ายต่อการผลิตจำนวนมาก
4. เคลื่อนย้ายได้สะดวก
5. มีความทนทาน

ข้อเสีย คือ

1. การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบ Sequential จึงไม่เหมาะสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูล
ทางคอมพิวเตอร์ เพราะเวลาจะลบข้อมูลต้องลบข้อมูลท้งแผ่น
2. เวลาเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีต้องมีเครื่องโดยเฉพาะทำ ให้การจัดเก็บข้อมูล
ไม่ดีเท่าที่ควร
3. ใช้สาร Magnetic จึงทำให้แสงเปลียนตาแม่เหล็ก ซึ่งทำใ้ห้มีการเสื่อมสภาพ
เมื่อมีการใช้งาน จึงไม่ควรใช้เป็น back up

Optical Storage - DVD

 

ดีวีดีมีเมื่อปี 1995 หลังจากซีดี 13 ปี โดยมีกลุ่มพันธมิตรใหม่ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคม ดีวีดี (DVD Consortium) ซึ่งมีบริษัทฟิลิปส์ โซนี่ และอีก 7 บริษัท อาทิเช่น ฮิตาชิ แมทซูซิต้า (พานาโซนิค) ไพโอเนียร์ มิตซูบิชิ เจวีซี ธอมสัน โตชิบ้า และ ไทม์ วอร์นเนอร์


ดีวีดีจัดเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีเลเซอร ์สีแดง โดยใช้ความยาวของคลื่นแสง 650 nm (nanometer) รูปลักษณ์ภายนอกของแผ่นดีวีดี จะมีลักษณะเช่นเดียวกับซีดี โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดเหมือนกับซีดี คือ


DVD-ROM – เป็นแผ่นที่บันทึกข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว สามารถเก็บวีดีโอคุณภาพสูงพร้อมเสียงที่มีคุณภาพเทีย บได้กับภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ อุตสาหกรรมนี้จึงได้เปลียนวิธีการเผยแพร่งานจากการใช ้เทปมาเป็นดีวีดีในปัจจุบัน

DVD-R (DVD-Recordable) – เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลไ้ด้เพียงครั้งเดียว โดยมากมักใชสำหรับสร้างและเก็บงานสำคัญที่มีปริมาณข้ อมูลมากหรือการบันทึกวีดีทัศน์แบบถาวร

DVD-RW (DVD-Rewritable) – เป็นแผ่นข้อมูลที่สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง


มีความจุของข้อมูลประมาณ 17 GB ซึ่งสามารถเก็บได้มากกว่าซีดี 7 เท่า และเท่ากับฟล๊อปปี้ดิสก์ 3,357 แผ่น เหตุผลที่ทำ่ให้ดีวีดีมีความจุมากกว่า คือการมีโครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูลภายในที่มีขนาด เล็กกว่าจึงทำให้สามารถจุอัดได้แน่นมากกว่าและการใช้ แสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นที่สั้นกว่า คือประมาณ 635-650 nm (nanometer) และสุดท้ายคือดีวีดีสามารถเก็บได้มากกว่าซีดี 1 ชั้น (layer) ซึ่งในแบบ 1 ชั้น (layer) คือประมาณ 4.7 GB สามารถให้ภาพที่คมชัดใกล้เคียงกับเทปต้นแบบ สามารถบีบอัดสัญญาณดิจิตอล รวมถึงการส่งผ่านของข้อมูลที่มีความเร็วถึง 4 เท่า และเก็บระบบเสียงที่เป็นระบบ Dolby Digital ซึ่งในหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุเสียงพากย์ได้ 8 ภาษา และบันทึกคำบรรยายได้ถึง 32 ภาษา จึงเหมาะสำหรับใช้บันทึกข้อมูลทางด้านภาพยนตร์และวงก ารบันเทิง


แผ่น DVD มีลักษณะเป็นวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 4.8 นิ้ิว (120 mm) หนา 0.6 mm และสามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบตามความจุซึ่งมีเทคนิคในการเก็บที่ไม่เหมือนกั นดังนี้


1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD 5 เป็นแผ่นที่ทำการจัดเก็บภาพได้เพียงชั้นเดียว และหน้าเดียว โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 GB (เวลาที่บันทึกได้ 2 ชม) โดยจะใช้วัสดุ 2 แผ่นประกบกันแต่ใช้งานเีพียงส่วนล่งแค่แผ่นเดียวในกา รบันทึกข้อมูลซึ่่งรูปแบบนี้ให้งานได้แพร่หลายมากที่ สุด


2. Single-Side, Double Layer หรือ DVD 9 จะมีลักษณะคล้าย DVD 5 คือมีการบันทึกข้อมูลลงในหน้าเดียว แต่จะบันทึกข้อมูลไว้ 2 ชันกระบวนการผลิตจะเป็นวัสดุแผ่นเดียว บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 8.5 GB (เวลาที่บันทึกได้ 4 ชม) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้บันทึกข้อมูลที่ต้องการรายละเอียดมาก ๆ เช่น ภาพยนตร์ต้องการคุณภาพของภาพสูง ๆ เรื่องยาว ๆ โดยจะบรรจุข้อมูลเสียงไว้อีกชั้นหนึ่ง


3. Double-Sided, Single Layer หรือ DVD 10 เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองห น้า และในแต่ละหน้าก็จะสามารถบันทึกข้อมูลได้เีพียง 1 ชั้น ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลไ้ด้เป็น 2 เท่าของ DVD 5 คือ 9.4 GB (เวลาที่บันทึกได้ 4.5 ชม)



4. Double-Sided, Double Layer หรือ DVD 18 เป็นแผ่นที่สามารภบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองด ้าน และแต่ละด้านสามารถบันทึกได้มากถึงสองชั้น สามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 17 GB (เวลาที่บันทึกได้ 8 ชม ) จึงเป็นรุ่นที่จุได้สูงสุด และการนำไปใช้งานมักเป็นการบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่มาก ๆ

ตารางความจุของ DVD Format Capacity Approx. Movie Time
Single-sided/single-layer 4.7 GB 2 hours
Single-sided/double-layer 8.5 GB 4 hours
Double-sided/single-layer 9.4 GB 4.5 hours
Double-sided/double-layer 17.0 GB Over 8 hours

ตารางสรุป cd , dvd

คุณลักษณะ DVD CD
เส้นผ่าศูนย์กลาง 120 mm 120 mm
ความหนา 0.6 mm 1.2 mm
ระยะห่างระหว่างแทรค 0.74 nanometers 1.6 nanometers
ความยาวของหลุม 0.40 nanometers 0.834 nanometers
ความยาวคลื่นของเลเซอร์ 640 nm 780 nm
ความจุของข้อมูล 4.7 GB 0.68 GB

ข้อดี คือ

1. ความยาวของคลื่นเลเซอร์เล็กกว่าทำให้สามารถอ่านข้อมู ลได้ละเอียดกว่า
2. คุณภาพของเสียงและภาพถูกบันทึกโดยใช้การบีบอัดภาพแบบ MPEG-2
ทำให้คุณภาพและเสียงที่ดีกว่า
3. มีการทำงานแบบ Interactive ทำให้สามารถเลือกมุมกล้างได้มากกว่า 1
มุมกล้อง และสามารถเลือกรูปแบบการทำงานทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนด
สิ่งที่ตัวเองต้องการรับชม
4. ดีวีดีสามารถกำหนดระหัสผ่านในการชมภาพยนตร์และยังสาม ารถชมภาพ
ยนตร์ในแผ่นเดียวกันแต่เป็นเวอร์ชั่นในระดับที่ต่างก นได้
5. สามารถเลือกภาษาที่ตนต้องการได้ เพราะแผ่นหนึ่งแผ่นจะเ็ก็บซาวด์
แทรคได้ถึง 8 ภาษา
6. การเพิ่มด้านในการบันทึกข้อมูล สามารถเขียนข้อมูลได้ทั้งด้านบน และ
ด้านล่างของแผ่นทำให้สามารถเขียนข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
7. มีการแบ่งแทรกเป็น sector ทำให้การอ่านและเีขียนข้อมูลได้เร็วกว่าซีดี
8. สามารถแยกลบ File บาง File

ข้อเสีย คือ

1. ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานกลาง

Optical Storage - HD-DVD



เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สีน้ำเงิ น (Blue Laser)แบบเดียวที่ใช้กับ Blu-ray Disc โดยถือเป็น มาตราฐานของออปติคอลดิสก์ที่ได้รับการพัฒนาจากโตชิบา และมีบริษัทชั่นนำอีกหลาย ๆ แห่งที่ให้ความสนับสนุน เช่น Toshiba, Sanyo, NEC, Universal Pictures ทำให้เกิดมาตรฐานในการรับรองจาก DVD Forum ซึ่งเป็นองค์กรที่คอยจัดมาตรฐานของ DVD ในปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นรูปแบบของดีวีดี เจเนอเรชั่นใหม่ ที่สามารถให้ความคมชัดมากกว่าดีวีดีในปัจจุบัน

ในส่วนของโครงสร้างของแผ่นไม่ว่าจะเป็น DVD, HDDVDในปัจจุบันจะอยู่ที่ความหนาของแผ่นอยู่ที่ 1.2 mm ซึ่งสามารถแบ่งเป็นชั้นต่าง ๆ ดังนี้ คือชั้นของตัวแผ่น (Disc) อยู่ที่ 0.6 mm และชั้นป้องกันการขีดข่วน (protective coating) อยู่ที่ 0.6 mm และชั้นบาง ๆ สำหรับบันทึกข้อมูล (recording layer)

HD DVD มีขนาดเท่ากับผ่นซีดีธรรมดา สามารถแบ่งรูปแบบเป็น 3 รูปแบบ คือ
แบบ Single Layer โดยมีความจุมากถึง 15 GB
แบบ Double Layer มีความจุถึง 30 GB ซึ่งสามารถใช้บันทึกข้อมูลได้กว่า 8 ชม
แบบ Triple Layer มีความจุถึง 45 GB

เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังใช้มาตรฐานเครื่องเล่น ในระบบ DVD อยู่จึงทำให้ในเดือนเมษายนปีที่ผ่านมานี้เอง ทางบริษัท โตชิบา ได้มีการออกตัวของเครื่องเล่น HD-DVD รุ่นใหม่ที่สามารถอ่านได้ทั้ง DVD, HD-DVD และ CD ซึ่งถึงแม้ว่า HD-DVD ได้เป็นที่นิยมใช้แพร่หลายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีข้อจำกัดของจำนวนผู้ใช้ที่ยังใช้ระบบเดิม จึงทำให้ HD-DVD ได้มีการคิดนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า Twin Format โดยให้แผ่นดิสก์มี 2 Layer ที่สามารถอ่านได้ทั้งเลเซอร์สีแดงและเลเซอร์สีนำ้เงิ น และทำให้สามารถเ็ก็บได้ทั้งระบบธรรมดา และ ไฮเดฟฟิเนชั่น ซึ่งวิวิํฒนาการชิ้นนีเองจะเป็นประโยชน์สำหรับห้องสม ุด และร้านเ่ช่าภาพยนตร์ เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่เ็ห็นความจำเป็นในก ารซื้อเครื่องเล่นในระบบ HD-DVD ในทันที
ราคาขายต่แผ่นของ HD DVD 1x15 GB (write once record) ยี่ห้อ Verbatim จะอยู่ที่ประมาณ 14.99 USD (หรือเทียบเท่า 510 บาท)

ข้อดีคือ
1. HDDVD คือสามารถอ่านแผ่นดีวีดี วีซีแบบเก่าได้ และทำให้มีราคาที่ถูกกว่า
2. ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก DVD Forum

Optical Storage - Blu-Ray  

เราคงไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาเรื่องของเนื้อที่ในดิสก์ ไม่พอใช้งานอีกต่อไป เรามารู้จักกับเทคโนโลยีแผ่นบันทึกข้อมูลออปติคอลดิส ก์แบบใหม่ที่สามารถบันทึกเก็บและเล่นข้อมูลได้มากถึง 20 ชั่วโมงกันดีกว่าค่ะ

BD เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลออปติคอลดิสก์รูปแบบใหม่ ที่ใช้ความยาวคลื่นแสงเลเซอร์ 405 NM (Nanometer) ที่ีมีความยาวคลื่นสั้นและความถึ่่สูง หรือช่วงแสงสีฟ้า (Blue-Violet) จึงทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าแบเดิม ที่ใช้คลื่นแสงสีแดง โดยมีสถาบัน Blu-ray Disc ® Association (BDA) และมีการรวมตัวของหลาย ๆ บริษัทฯ เช่น Matsushita, Pioneer, Phillips, Thomson, LG Electronics, Hitachi, Sharp, Samsung และ Sony ซึงมี Sony เป็นผู้นำ นอกจากนี้ ทาง Blu-Ray ยังได้รับการสนับสนุนจาก 6 บริษัท หลัก เช่น 20th century Fox, MBM Studio, Paramout Pictures, Sony Picture Entertainment, The Walt Disney Company, Warner Bros. จึงเป็นส่วนทำให้ Blu-Ray มุ่งเน้นประโยชน์ทางด้านวงการบันเทิง เช่น หนัง หรือเครื่องเล่น Play Station 3

BD สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 25 GB ใน Single Layer ซึ่งสามารถใช้บันทึกข้อมูลได้นานถึง 13 ชม สำหรับข้อมูลที่มีความละเอียดของภาพระดับธรรมดา และ 2-3 ชั่วโมงสำหรับการบันทึกข้อมูลระดับไฮเดฟฟินเนชั่น ด้วยความเร็วในการอ่าน 36 เมกะบิต ต่อวินาที ทำให้ใช้เวลาในการอ่านแผ่น 25 GB เพียง 1.30 ชม เท่านั้น

และแผ่นที่บรรจุ 50 GB ใน Double Layer โดยสามารถใช้บันทึกข้อมูลได้นานถึง 20 ชม ที่มีความละเอียดระดับธรรมดา และ 4.5 ชม ที่ความละเอียดระดับไฮเดฟฟินเนชั่น
BD จะมีความละเอียดระดับสูง ด้วยการเพิ่มจำนวนของพิกเซลหรือความละเอียดของภาพให้ เิ่พิ่มขึ้น ทำให้ได้ภาพที่คมชัดมากขึ้น หากเปรียบเทียบราคาระหว่าง HD DVD และ BD แล้ว ถึงแม้ว่า BD จะมีราคาแพงกว่าแต่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า จึงถือว่า BD เป็นคู่แข่งที่สำคัญสำหรับ HD DVD ทั้งนี้ไม่ว่า BD และ HD DVD ถื่อได้ว่าเ็ป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่ให้ความละเอียดระดับไฮเดฟฟิเนชั่้น ซึ่งมีความละเอียดกว่าระดับมาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุ บันถึง 5 เท่า และมีส่วนช่วยให้สามารถเก็บภาพกราฟิกที่สมจริงมากขึ้ น และสามารถตอบสนองความนิยมในการรับชมทีวีจอใหญ่ที่ให้ สัญญาณภาพที่คมชัดมากขึ้น

ข้อดีคือ
1. เป็นสินค้าพรีเมี่ยม ซึ่งเน้นจุดขายตรงที่คุณภาพที่คมชัด และระบบเสียงที่ดี
2. นอกเหนือจากนี้อายุการใช้งาน ของ BD จะมีอายุการใช้งานที่นานกว่าเนื่องจากมีเกราะชั้นดี หรือที่เรียกว่า Hard Coat จากทาง TDK เป็นผลให้สามารถป้องกันความเสียหายอันเกิดจากรอยขีดข ่วนและต่อรอยนิ้วมือได้ดี
3. แผ่น BD แต่ละแผ่นจะมี ROM Mark เป็นของตัวเอง ซึ่งใช้ระบบ Watermark ที่สามารถถูกเพิ่มลงไปในแผ่นได้ โดยผู้ผลิต BD-ROM ที่ได้รับอนุญาต จึงทำให้เป็นการป้องกันการคัดลอกแผ่นดิสก์โดยไม่รับอ นุญาตและทำให้เครื่องเล่นเถื่อนทั้งหลายไม่สามารถใช้ งานได้


ข้อเสียคือ
1. การที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทำให้ BD มีต้นทุนที่สูงกว่าและราคาขายที่สูงกว่า HDDVD
2. ด้วยความล้ำหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้ไม่สามารถอ่านแ ผ่นฟอร์แมตรุ่นเก่าได้
3. ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก DVD Forum

สำหรับราคาที่ขายอยู่ ณ ขณะนี้ประมาณ 17 USD (สำหรับรุ่น BR-R 2x 25GB ยี่ห้อ Verbatim) และ 19 USD (สำหรับรุ่น Rewittable)


บทส่งท้าย ทำไมความยาวคลื่นและความหนาของแผ่นมีผลในการจุของข้อ มูล

เนื่่องจากแสงที่มีความยาวคลื่นเล็กลง ทำให้สามารถบีบลำแสงมีขนาดเล็กลงได้มากขี้น และสามารถอ่านบิตของข้อมูลที่ถูกเก็บในขนาดที่เล็กกว ่าได้ดีขึ้น

โครงสร้างของแผ่น Blu-Ray ก็มีความหนาอยู่ที่ 1.2 mm เช่นเดียวกันแต่ชั้นของตัวแผ่นหนาประมาณ 1.1 mm ซึ่งหมายความว่าชั้นป้องกันการขีดข่วนหนาเพียงแค่ 0.1 mm และด้วยเหตุผลของความบางของชั้นป้องกันนี้เองเป็นเหต ุผลที่ทำให้ Blu-Ray จุข้อมูลได้มากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากการเิดินทางของแสงที่ต้องผ่านตัวกลา ง plastic น้อยกว่า ทำใหแสงมีความสามารถที่จะอ่านข้อมูลที่มี Track Pitch น้อยกว่า

แต่ในส่วนของโครงสร้างของแผ่นไม่ว่าจะเป็น DVD, HDDVDในปัจจุบันจะอยู่ที่ความหนาของแผ่นอยู่ที่ 1.2 mm ซึ่งสามารถแบ่งเป็นชั้นต่าง ๆ ดังนี้ คือชั้นของตัวแผ่น (Disc) อยู่ที่ 0.6 mm และชั้นป้องกันการขีดข่วน (protective coating) อยู่ที่ 0.6 mm และชั้นบาง ๆ สำหรับบันทึกข้อมูล (recording layer)

ความเหมาะสมในด้านการใช้งาน

ในการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้ต้องเอาไปใช้งานยังไง หากมีการจัดเก็บข้อมูล โดยไฟล์ข้อมูลไม่เกิน 700 MB ก็ควรใช้เป็นแผ่น CD ทั่วไปในการจัดเก็บ หากมีการจัดเก็บข้อมูล เกิน 700 MB แต่ไม่เกิน 4.3 GB ก็ควรใช้เป็น แผ่น DVD หากเกินกว่านั้นก็แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะใช้งานกับแผ่น HD - DVD หรือ Blu - Ray

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ผลกระทบโดยตรงที่จะเกิดขึ้นก็คือ ปริมาณขยะที่เกิดจากแผ่น CD,DVD,HD-DVD หรือ Blu - Ray นั้นเอง ซึ่งกระบวนการย่อยสลายก็ยังเป็นปัญหาอยู่ ซึ่งแผ่นพวกนี้ทำมาจาก พลาสติก ที่ย่อยยากนั้นเอง

อ้างอิง

- ผู้เขียน: จิตตกานต์ เตชะแสนศิริ  ที่มา http://www.vcharkarn.com

- www.google.co.th


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น